คลินิกปลูกผม THTC
ปลูกผมแบบมีคุณภาพ
โดยแพทย์ American Board
✅ ปรึกษา ONLINE
โดยแพทย์ American Board
ความสำเร็จในการปลูกผม นอกจากจะขึ้นกับแพทย์และทีมงานแล้ว วิธีที่ใช้ในการปลูกผม ก็มีความสำคัญไม่น้อยต่อเปอร์เซ็นต์การขึ้นของเส้นผม ความสวยงาม ความเป็นธรรมชาติ ความปลอดภัยและผลการรักษาในระยะยาว
ฉะนั้นคุณจึงควรศึกษาหาข้อมูลให้เพียงพอก่อนการตัดสินใจว่าจะเลือกปลูกผมด้วยวิธีไหนดี อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาผิดๆ ที่มีอยู่มากมาย ตามอินเตอร์เนต
1.FUE
2.FUT
3.ROBOT หรือ หุ่นยนต์ปลูกผม
แต่ที่นิยมกันจะมีแค่ 2 วิธี คือ FUE กับ FUT ส่วนวิธี ROBOT หรือหุ่นยนต์ หรือ แขนกลปลูกผม ไม่ค่อยเป็นที่นิยมกันเพราะมีราคาสูง และผลการรักษาก็ไม่ได้ดีไปกว่า 2 วิธีดังกล่าวข้างต้น
ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกถึง ความแตกต่างของวิธี FUE กับ FUT รวมทั้งข้อดี ข้อเสีย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจรักษา
หัวข้อ
ปลูกผม FUE คืออะไร ทำอย่างไร ?
วิธีทำ โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือเจาะไปเอากราฟผม ทีละรู (1 รู = 1 กราฟผม) แล้วใช้ปากคีบ ดึงและถอนกราฟผม ออกจากหนังศีรษะ เพื่อนำไปปลูก
FUT ย่อมาจาก Follicular Unit Transplantation
ปลูกผม FUT คืออะไร ทำอย่างไร ?
การปลูกผม FUT หรือ STRIP คือการปลูกผมอีกวิธีหนึ่ง
วิธีทำ โดยแพทย์จะตัดหนังศีรษะด้านหลังออกมาแถบหนึ่ง แล้วเย็บเข้าหากัน
จากนั้นก็นำแถบผมที่ได้ มาแยกเป็นกราฟผม โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ แล้วนำกราฟผมที่ได้ไปปลูกยังบริเวณศีรษะล้าน (ไม่ใช่เอาแถบผมไปแปะตรงศีรษะล้านอย่างที่หลายคนเข้าใจ)
ความเหมือนของ FUE กับ FUT
คือ ขั้นตอนในการปลูกผมหรือการฝังกราฟผมลงบนหนังศีรษะ ใช้วิธีการปลูกและเครื่องมือแบบเดียวกัน
ความแตกต่างของ FUE กับ FUT
คือ ขั้นตอนการไปเอากราฟผม จากด้านหลังศีรษะมาปลูก ใช้เครื่องมือ และวิธีการที่แตกต่างกัน
✅ FUE ใช้การเจาะเอาเส้นผมออกมา ทีละรูๆ ได้เป็นกราฟผมพร้อมปลูกทันที
✅ FUT ใช้การตัดหนังศีรษะออกมาเป็นแถบผม แล้วนำแถบผมที่ได้มาแยกด้วยกล้องจุลทรรศน์ออกมาเป็นกราฟผม ก่อนจะนำไปปลูก
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้แต่ละวิธีมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนี้คือ
✅ 1.แผลเป็นมีลักษณะเป็นจุดๆ กระจัดกระจายทั่วไป มองเห็นไม่ค่อยชัดเจน จึงเหมาะกับคนไข้ที่ต้องการไว้ผมสั้น เช่น ตำรวจ ทหาร ฯลฯ
✅ 2.แผลผ่าตัดหายเร็วกว่า วิธี FUT
✅ 3.ใช้กับคนไข้ที่หนังศีรษะด้านหลังตึงมาก จนไม่เหมาะกับการปลูกผมด้วยวิธี FUT
✅ 4.สามารถเอาขนจากส่วนอื่นของร่างกาย เช่น หนวด เครา ขนหน้าอก มาปลูกแทนเส้นผมได้ ถ้าหากเส้นผมถาวรที่มีอยู่ มีจำนวนไม่เพียงพอในการปลูก
❌ 1.เส้นผมถาวรด้านหลังจะบางลงอย่างรวดเร็ว (DONOR DEPLETION)
❌ 2.เส้นผมที่ปลูกอาจอยู่ไม่ถาวร (NON-PERMANENT RESULT)
❌ 3.แผลเป็นจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนกราฟผมที่ปลูก (MORE GRAFTS MORE SCARS)
❌ 4.มีการสูญเสียเซลล์รากผมมากกว่าวิธี FUT (MORE TRANSECTION RATE)
ข้อเสียต่างๆเหล่านี้ มักไม่ค่อยมีใครได้กล่าวถึง จึงขออธิบายลงลึกถึงรายละเอียด เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และไม่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา
คนฝรั่ง vs คนไทย
จากรูป วงสีขาวคือเส้นผมถาวรด้านหลังที่จะนำมาปลูก เมื่อดูด้วยตาเปล่า เสมือนว่าเส้นผมคนไทยมีความหนาแน่นมากกว่าคนฝรั่ง แต่เมื่อดูผ่านกล้องขยาย จะเห็นว่าคนฝรั่งมีเส้นผมหนาแน่นกว่าคนไทยมาก
การปลูกผมแบบ FUE แพทย์จะเจาะเอาเส้นผมไปปลูกทีละรู (1 รู = 1 กราฟผม) เส้นผมตรงนั้นก็จะหายไป และเกิดแผลเป็นมาแทนที่ตรงรูนั้น ทำให้เส้นผมเดิมอยู่ห่างกันมากขึ้น เส้นผมด้านหลังจึงบางลง
ยิ่งถ้าเจาะรูถี่มากเท่าไหร่ เส้นผมด้านหลังก็จะยิ่งลงมากขึ้นเท่านั้น (ดูรูปประกอบ)
คนไทยจำนวนไม่น้อย ที่มีเส้นผมถาวรด้านหลังของศีรษะไม่มาก และไม่หนาแน่นเหมือนฝรั่ง ทำให้หลังการปลูกผม FUE แต่ละครั้ง เส้นผมด้านหลังจะบางลงอย่างรวดเร็ว
⚠️ การปลูกผมแบบ FUE จึงไม่เหมาะกับคนไทยทุกคน โดยเฉพาะคนที่มีเส้นผมเส้นเล็กและไม่หนาแน่น (ผมบาง) เพราะหากในอนาคตศีรษะล้านเพิ่ม จะมีเส้นผมถาวรเหลือไม่เพียงพอให้ปลูกได้อีก
เส้นผมถาวรของแต่ละคนมีจำนวนจำกัด และจะมีจำนวนลดลงหลังการปลูกผมทุกครั้ง ถ้าใช้หมดแล้วก็หมดเลย ไม่สามารถงอกใหม่ได้ จึงต้องใช้อย่างเหมาะสม ระมัดระวัง และควรเหลือเผื่อเอาไว้ใช้ในอนาคต หากจำเป็นต้องปลูกเพิ่มเติม
วงสีขาวด้านบนศีรษะ (รูปซ้าย) คือเส้นผมด้านหน้า ที่ได้จากการปลูกผม FUE จำนวน 2000 กราฟ
วงสีขาวด้านหลังศีรษะคือเส้นผมถาวรที่เหลืออยู่ (รูปขวา) หลังจากถูกใช้ไป 2000 กราฟด้วยวิธี FUE
วงสีแดง คือ บริเวณที่ผมยังบาง และต้องปลูกผมเพิ่มเติม
ถ้าจะปลูกให้เต็มวงสีแดง ก็จะต้องใช้กราฟผมอีกอย่างน้อย 3000-4000 กราฟ ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน
เพราะเส้นผมถาวรบริเวณด้านหลังของศีรษะเหลือไม่เพียงพอให้ปลูกได้ หรืออาจปลูกได้แค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ถ้าคุณสังเกตให้ดีก็จะเห็นว่า คนที่มีศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ ไม่ว่าศีรษะจะล้านมากแค่ไหนก็ตาม ด้านหลังของศีรษะก็ยังคงมีเส้นผมเหลืออยู่ไม่มากก็น้อย (ดังรูป)
เส้นผมตรงนี้มักจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต แพทย์ปลูกผมเรียกชื่อบริเวณนี้ว่า "บริเวณที่มีเส้นผมถาวร " หรือ SDA (SAFE DONOR AREA)
ส่วนเส้นผมที่อยู่เหนือหรือใต้ต่อบริเวณ SDA เป็นเส้นผมที่ไม่ถาวร
จากรูป จะเห็นว่า เส้นผมที่นำไปปลูกด้วยวิธี FUE จึงมีทั้งเส้นผมถาวรและไม่ถาวรผสมกัน
เนื่องจากการปลูกผมแบบ FUE แพทย์สามารถนำเส้นผมถาวรบริเวณ SDA ไปปลูกได้เพียง 30-35% เท่านั้น เพราะต้องเหลือเส้นผมตรงบริเวณนั้นไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อปิดบังรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นจากการปลูกผม
ถ้าแพทย์ปลูกผมเจาะเอาเส้นผมจากบริเวณ SDA ถี่เกินไป (OVER HARVEST) เส้นผมตรงนั้นก็จะเหลือน้อยจนไม่สามารถจะปิดบังรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นจากการปลูกผมได้ ดังเช่นตัวอย่างคนไข้ที่ได้แสดงไว้ก่อนหน้านี้
หากต้องใช้กราฟผมเป็นจำนวนมาก แพทย์จึงจำเป็นต้องใช้เส้นผมนอกบริเวณ SDA ซึ่งเป็นเส้นผมที่ไม่ถาวรมาปลูกร่วมด้วย เส้นผมที่ปลูกจึงอาจอยู่ไม่ถาวร และจะร่วงไปในอนาคต
แผลเป็นจากการปลูกผมด้วยวิธี FUE จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนกราฟผมที่ปลูก เช่น ปลูกผมครั้งแรก 2000 กราฟ ก็จะเกิดแผลเป็น จำนวน 2000 แห่ง หากปลูกผมครั้งที่ 2 อีก 2000 กราฟ ก็จะมีแผลเป็นเพิ่มเป็น 4000 แห่ง หากปลูกผมครั้งที่ 3 อีก 2000 กราฟ ก็จะมีแผลเป็นเพิ่มเป็น 6000 แห่ง
เมื่อแผลเป็นเพิ่มมากขึ้น และอยู่ใกล้ๆกัน ก็จะมองเห็นได้ เพราะตรงบริเวณนั้น เหลือเส้นผมอยู่น้อยเกินไปที่จะปิดบังแผลเป็นได้
(รูป 1 ซ้ายมือ) เส้นขนานสีแดงแสดงหัวเจาะ FUE ซึ่งมีลักษณะปลายคมเป็นรูกลวง โดยแพทย์จะเจาะไปที่ รูที่มีเส้นผมงอกออกมา ทีละรูๆ แล้วใช้ปากคีบ ดึงเอากราฟผมออกจากหนังศีรษะเพื่อนำไปปลูก
(รูป 2 ขวามือ) หากทิศทางของหัวเจาะทำมุมไม่ขนานกับกราฟผมส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนัง (ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้) ก็จะทำให้กราฟผมขาด
การปลูกผมด้วยวิธี FUE จะเกิดความสูญเสียกราฟผมมากกว่าวิธี FUT เนื่องจากแพทย์ไม่สามารถมองเห็นกราฟผมส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังในขณะทำผ่าตัดได้
นอกจากข้อเสียสำคัญ 4 ข้อดังกล่าวข้างต้น FUE ยังมีข้อเสียอื่นๆ ดังนี้
แม้ว่าจะมีเทคนิคใหม่ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ต้องโกนผม เรียกว่า LONG HAIR FUE แต่จะมีข้อจำกัดกว่าวิธีโกนผม คือ
การปลูกจะใช้เวลานานกว่า
จำนวนกราฟผมที่ได้ไม่มากเท่าวิธีโกนผม
การกระจายของรูที่เจาะไม่สม่ำเสมอเหมือนการโกนผม
เซลล์รากผมเสียหายมากกว่า
รูปแสดง เส้นผมด้านหลังที่จะนำไปปลูก
(รูปบนสุด ก่อนปลูกผม) ในการปลูกผมด้วยวิธี FUE ครั้งแรก แพทย์มักจะเลือกเอาเฉพาะกราฟผมชนิด 2-3 เส้นไปปลูก (วงสีแดง) เพราะต้องการกราฟผมที่มีเส้นผมเยอะๆ เวลาผมขึ้นจะได้ดูหนาๆ
(รูปตรงกลาง หลังปลูกผมครั้งที่ 1) จะเห็นว่า กราฟผมชนิด 2-3 เส้นจะน้อยลงไปมาก (ดูเปรียบเทียบกับรูปบน) หากต้องปลูกเพิ่มเติมเป็นครั้งที่ 2 ผลการรักษาก็จะด้อยลงกว่าการปลูกผมในครั้งแรก เพราะกราฟผมชนิด 1 เส้นมีจำนวนมากขึ้น ในขณะที่กราฟผมชนิด 2-3 เส้นกลับมีน้อยลง
(รูปล่างสุด หลังปลูกผมครั้งที่ 2) เส้นผมด้านหลังอาจบางลงมาก เพราะเหลือแต่ กราฟผมชนิด 1 เส้น เป็นส่วนใหญ่ จนอาจไม่เพียงพอที่จะปลูกผมเป็นครั้งที่ 3 ได้อีก
การปลูกผมด้วยวิธี FUE ใช้เวลามาก กราฟผมจึงอยู่นอกร่างกายนาน
กราฟผมเมื่อนำออกจากร่างกายแล้ว จึงควรนำไปปลูกโดยเร็ว เพื่อให้เลือดมาหล่อเลี้ยงให้เร็วที่สุด อัตราการตายก็จะลดน้อยลง
กราฟผมหากอยู่นอกร่างกายนานเกินไป อัตราการตายของกราฟผมก็จะมากขึ้น เนื่องจากขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง ทำให้เส้นผมที่ปลูกอาจจะไม่ขึ้นหรือขึ้นน้อย
ข้อดีของ FUT
✅ 1.เส้นผมที่ปลูกอยู่ถาวรตลอดชีวิต
✅ 2.สูญเสียเซลล์รากผมน้อย
✅ 3.เส้นผมด้านหลังไม่บางลง
✅ 4.แผลเป็นมีแค่แผลเดียวแม้จะปลูกผมหลายครั้ง
✅ 5.ไม่ต้องโกนผม
ข้อเสียของ FUT
❌ 1.แผลผ่าตัดอาจสังเกตเห็นได้ ถ้าไว้ผมสั้น
❌ 2.แผลหายช้ากว่าวิธี FUE
❌ 3.ไม่เหมาะกับคนที่มีหนังศีรษะตึงมาก
เส้นผมถาวร คือเส้นผมบริเวณด้านล่างของศีรษะ (เส้นสีขาว) ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ จะอยู่ถาวรตลอดไป ไม่ว่าศีรษะจะล้านมากแค่ไหนก็ตาม มีชื่อเรียกว่า SAFE DONOR AREA หรือ SDA
FUT จะนำเอาเฉพาะเส้นผมถาวรไปปลูกเท่านั้น ผลลัพธ์อยู่จึงถาวรตลอดชีวิต (PERMANENT RESULT)
การปลูกผม FUT จะเกิดความสูญเสียเซลล์รากผมประมาณ 1-5% เท่านั้น เนื่องจากแพทย์สามารถมองเห็นเซลล์รากผม ได้อย่างชัดเจนทั้งส่วนที่อยู่นอกและส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังในขณะทำผ่าตัด และยังใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10 เท่า ในการแยกเซลล์รากผมออกเป็นกอๆหรือกราฟ จึงทำให้สูญเสียเซลล์รากผมน้อย
กราฟผมมีไขมันห่อหุ้มที่ราก ซึ่งจะให้ความชุ่มชื้นและปกป้องไม่ให้กราฟผมตายระหว่างการทำปลูกผม
การปลูกผมแบบ FUT ยังเหมาะกับคนที่มีเส้นผมหยิกมาก เนื่องจากเส้นผมมีความโค้งงอมาก หากใช้วิธีอื่น จะเกิดความสูญเสียเซลล์รากผมมาก เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นความโค้งงอของเซลล์รากผมส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังได้
เนื่องจาก FUT ใช้วิธีการตัดหนังศีรษะออกมาเป็นแถบ แล้วเย็บเข้าหากัน จึงไม่ส่งผลกระทบต่อความหนาแน่นของเส้นผมบริเวณรอบๆแถบที่ตัด เส้นผมด้านหลังจึงไม่ค่อยบางลงเหมือนการปลูกผมแบบ FUE
คนไข้รายนี้ ปลูกผมไป 2 ครั้ง ด้วยวิธี FUT จำนวนกราฟรวม 5394 กราฟ จะเห็นว่าเส้นผมถาวรด้านหลังยังคงดูเหมือนเดิม ไม่บางลง (วงสีขาว ด้านหลัง)
แม้จะปลูกผมหลายครั้ง แต่แผลเป็นจากการปลูกผมก็จะมีแค่แผลเดียว
เพราะแพทย์นิยมเอาแผลเป็นเดิมออกมาพร้อมกับแถบผมในการปลูกผมทุกครั้ง
ทำให้คนไข้จะมีแผลเป็นเพียงแผลเดียว ไม่ว่าจะปลูกผมกี่ครั้งก็ตาม
ข้อดีของการปลูกผม FUT คือคนไข้ไม่ต้องโกนผม จึงมองไม่เห็นแผลหลังการปลูกผม
❌ 1.แผลผ่าตัดมีลักษณะเป็นเส้น หากคนไข้ไว้ผมสั้นมาก ก็อาจสังเกตเห็นได้
❌ 2.แผลหายช้ากว่าวิธี FUE
❌ 3.ไม่เหมาะกับคนไข้ที่มีหนังศีรษะด้านหลังตึงมาก
การปลูกผม ROBOT มีชื่อเต็มว่า THE ARTAS® ROBOTIC PROCEDURE
เป็นการปลูกผมโดยใช้การเจาะเหมือนกับการปลูกผมแบบ FUE แตกต่างกันตรงที่ใช้หุ่นยนต์ หรือแขนกลมาทำหน้าที่แทนแพทย์ โดยหุ่นยนต์จะมีโปรแกรมให้ทำหน้าที่เจาะเซลล์รากผมโดยเฉพาะ เนื่องจากค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงไม่ได้รับความนิยม
การประดิษฐ์หุ่นยนต์ปลูกผมขึ้นมา อาจเป็นเพราะต้องการให้การปลูกผมเป็นงานอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล แต่ต้องไม่ลืมว่า การปลูกผมเป็นงานศิลปะ เป็นงานที่ละเอียดซับซ้อน ที่ต้องอาศัยทักษะ ความรู้ ความเข้าใจในศิลปะการปลูกผม ผลงานจึงจะออกมาดีและมีคุณค่า
ปัจจุบันการปลูกผมแบบ ROBOT ได้รับความนิยมลดน้อยลง เนื่องจากราคาแพง ผลการรักษาไม่ดีไปกว่าการปลูกผมแบบ FUE ที่ทำโดยแพทย์ที่ชำนาญ
การปลูกผมทั้ง 3 วิธี ต่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แพทย์จะแนะนำและเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้เป็นรายๆไป โดยคำนึงถึงผลการรักษา ความปลอดภัยและประโยชน์ของคนไข้ในระยะยาว
เรื่องน่ารู้