คลินิกปลูกผม THTC
ปลูกผมแบบมีคุณภาพ
โดยแพทย์ American Board
✅ ปรึกษา ONLINE
โดยแพทย์ American Board
ผมร่วง ผมบาง ในผู้หญิง เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผมร่วงกรรมพันธุ์ ผมร่วงจากฮอร์โมน โรคไทรอยด์ทำงานน้อย โรคไทรอยด์เป็นพิษ ผมร่วงหลังคลอดบุตร ผมร่วงมะเร็ง ความเครียด เลือดจาง รังแค ภูมิคุ้มกันผิดปกติ ฯลฯ
ประมาณกันว่า กว่า 1 ใน 5 หรือ 20% ของผู้หญิงทั่วโลก กำลังประสบกับปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน และต้องการที่จะรักษา
ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางคนก็อาจมีผมร่วงเยอะมากผิดปกติ โดยจะสังเกตเห็นได้ตอนสระผม ว่ามีเส้นผมร่วงเยอะมาก จนไปอุดช่องของท่อระบายน้ำ หรือผมร่วงมากขณะหวีจัดแต่งทรงผม
ปกติเส้นผมผู้หญิงจะร่วงได้ไม่เกิน 50 -100 เส้นต่อวัน หากผู้หญิงมีผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน ก็จะจัดว่าเป็นผมร่วงผิดปกติ
แต่ในทางปฎิบัติ การที่จะนับเส้นผมที่ร่วง ว่ามีกี่เส้นต่อวันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ค่อยมีใครได้นับกัน และไม่ได้สังเกตอยู่ตลอดเวลา หรืออาจมีผมร่วงแบบไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่ก็ใช้วิธีประมาณเอา ซึ่งบ่อยครั้งก็ไม่ค่อยถูกต้องสักเท่าไร
ผมร่วงผิดปกติของผู้หญิง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ และจะแตกต่างจากสาเหตุผมร่วงของผู้ชาย
ผู้หญิงหลายคนที่กำลังมีผมร่วงเยอะมาก ก็มักจะกังวลว่าต้องกินอะไรดี เพื่อให้ผมหยุดร่วง บางคนก็เลือกซื้อวิตามิน หรืออาหารเสริมมากิน เพราะคิดเอาเองว่า ผมร่วงเกิดจากขาดวิตามิน ขาดสารอาหาร เพราะกินน้อยหรือกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรืออาจเกิดจากการทำสีผม ย้อมผม หรือนอนดึก
บางคนก็เลยลองเปลี่ยนแชมพู โดยซื้อแชมพูแก้ผมร่วง หรือยาแก้ผมร่วงมาลองใช้ แต่ก็มักไม่ได้ผล
เพราะสาเหตุของผมร่วงส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการขาดวิตามิน หรือสารอาหาร หรือเกิดจากแชมพูสระผม
หรือแม้แต่การย้อมผม ทำสีผมบ่อยๆ ก็มักจะไม่ใช่สาเหตุหลัก ที่ทำให้เกิดผมร่วงแต่อย่างใด
การรักษาผมร่วงด้วยตัวเอง โดยการอ่านเอาตาม INTERNET หรือหาข้อมูลจากเว็บไซต์ เช่น PANTIP เพื่อรักษาผมร่วงจึงมักไม่ได้ผล
ส่วนมากมักจะได้รับคำแนะนำที่ผิดๆ หรือต้องการจะขายสินค้าเสียมากกว่า
กรรมพันธุ์เป็นสาเหตุของผมร่วง ผมบางในผู้หญิงที่พบได้บ่อยที่สุด แต่ผมร่วงจากรรมพันธุ์ในผู้หญิงมักจะไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศหญิงหรือฮอร์โมน DHTเหมือน ผมร่วง ผมบางจากกรรมพันธุ์ของผู้ชาย
สาเหตุผมร่วงกรรมพันธุ์ ของผู้หญิง เกิดจากได้รับโครโมโซมศีรษะล้าน ที่ถ่ายทอดมาจากฝ่ายบิดา มารดา หรืออาจมาจากทั้งสองฝ่ายร่วมกัน
ผู้หญิงบางคนที่มีผมร่วงจากกรรมพันธุ์อาจมีผมร่วงได้ตั้งแต่ตอนเป็นวัยรุ่น หรือผมร่วงตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น 15-20 ปี
และมักพบว่ามีประวัติคนในครอบครัวหรือญาติมีศีรษะล้านร่วมด้วย
ระดับ1 ผมบางเล็กน้อยตรงรอยแสก
ระดับ 2 ผมบางปานกลางตรงกลางหัว จนพอมองเห็นหนังศีรษะได้
ระดับ 3 ผมบางมากจนเห็นหนังศีรษะได้ชัดเจน (ดูรูปประกอบ)
ในระยะเริ่มแรก จะสังเกตเห็นว่ามีผมบางเพียงเล็กน้อยตรงรอยแสก หรือผมบางตรงบริเวณกลางศีรษะ
ต่อมาเส้นผมจะค่อยๆบางมากขึ้นเรื่อยๆ จนเห็นหนังศีรษะ หนังศีรษะจะมันมาก ทำให้ต้องสระผมทุกวันหรือเกือบทุกวัน
ผมร่วงกรรมพันธุ์ในผู้หญิง จะไม่มีผมข้างหน้าล้านเหมือนผู้ชาย
การวินิจฉัยโรคผมร่วงกรรมพันธุ์ในผู้หญิง ทำได้ด้วยการดูรูปแบบของศีรษะล้าน ร่วมกับการตรวจสภาพเส้นผม และหนังศีรษะ
แต่ในบางครั้งก็อาจจำเป็นต้องตรวจเลือด ตรวจระดับฮอร์โมน หรือต้องตัดชิ้นเนื้อเล็กๆเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อยืนยันการวินิจฉัยออกจากสาเหตุของโรคผมร่วงอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายคลึงกัน ก่อนเริ่มให้การรักษา
การรักษาทางยา ยาแก้ผมร่วงสำหรับผู้หญิง ที่แพทย์นิยมใช้ ได้แก่ MINOXIDIL LOTION
การฉีด PRP (PLATELET RICH PLASMA ) หรือ เกล็ดเลือดเข้มข้น เพื่อฟื้นฟูเซลล์รากผม
การอบหนังศีรษะด้วยแสง LASER
ผู้หญิงที่มีผมร่วงจากฮอร์โมนพบได้ไม่น้อยในปัจจุบัน ฮอร์โมนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการร่วงและการงอกของเส้นผม ได้แก่
THYROID HORMONE
ESTROGEN HORMONE
PROGESTERONE HORMONE
DHT (DIHYDROTESTOSTERONE) HORMONE
✅ 5.วัยทอง
ผู้หญิงที่มีผมร่วงจากฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานน้อย พบได้ในทุกอายุ
1.ขาดสารไอโอดีนจากอาหารที่รับประทาน
2.การอักเสบของต่อมไทรอยด์
3.การฉายรังสีรักษามะเร็งบริเวณคอ
4.การผ่าตัดเนื้องอก ที่ตัดเอาเนื้อของต่อมไทรอยด์ออกมากเกินไป ฯลฯ
เมื่อฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ/น้อยลง ก็จะเกิดความผิดปกติของวงจรของเส้นผม ทำให้ระยะงอกของเส้นผมสั้นลง และระยะร่วงยาวนานขึ้น เส้นผมจึงร่วงมากผิดปกติ
นอกจากนั้น สารเคอราตินที่อยู่ชั้นนอกสุดของเส้นผมและทำหน้าที่เคลือบเส้นผมมีความเงางาม ก็จะเสียคุณสมบัติ ทำให้เส้นผมของคนที่เป็นโรคนี้แห้งและหยาบกระด้างอีกด้วย
น้ำหนักตัวเพิ่ม
อ่อนแรง
ผมร่วงทุกวัน วันละมากกว่า 40-50 เส้น และผมบางลง
ผมแห้ง ผิวหนังแห้ง เล็บเปราะ
ขี้หนาว
หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ฯลฯ
✅ ใช้ยา THYROID ฮอร์โมน เพื่อปรับฮอร์โมนให้แก่ร่างกาย ผมก็จะค่อยๆร่วงน้อยลงและหยุดร่วงไปในที่สุด
โรคไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ
โรคไทรอยด์เป็นพิษ อาจมีสาเหตุมาจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ เนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรค GRAVES' DISEASE ก็ทำให้ผมร่วงมากได้เช่นกัน
เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป ก็จะไปกระตุ้นให้เซลล์รากผมเร่งการสร้างเส้นผม ทำให้ได้เส้นผมในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ เช่น เส้นเล็กกว่าปกติ เส้นผมแตกหักง่าย ฯลฯ
เมื่อเซลล์รากผมเร่งการสร้างผมเส้นใหม่ เส้นผมเดิมจึงถูกดันให้หลุดร่วงออกมาเร็วกว่าที่เคยเป็น คนไข้ที่เป็นโรคนี้ จึงมีผมร่วงมากผิดปกติ
น้ำหนักตัวลด
หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
กระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง
ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
เส้นผมร่วงมาก และเส้นเล็กลง
ใช้ยาต้าน THYROID ฮอร์โมน เพื่อหยุดผมร่วง
กลืนน้ำแร่ ไอโอดีน เพื่อทำลายเนื้อเยื่อบางส่วนของต่อม THYROID
ผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกบางส่วน เพื่อไม่ให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากจนเกินไป
โรคผมร่วงจากฮอร์โมนผู้หญิงที่พบได้บ่อยอีกชนิดหนึ่งก็คือ ผมร่วงหลังคลอดบุตร ผู้หญิงหลังคลอดบุตร จะเกิดการลดลงอย่างรวดเร็วของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (ESTROGEN) จากตอนตั้งครรภ์
ฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยในการเจริญเติบโตของเส้นผม เมื่อปริมาณของฮอร์โมนลดระดับลง จึงทำให้เกิดผมร่วงมากหลังการคลอดบุตร
อาการผมร่วงหลังคลอดมักจะเป็นเพียงชั่วคราว เส้นผมจะงอกขึ้นมาใหม่ภายใน 6-12 เดือน โดยไม่ต้องทำการรักษาใดๆ
แต่ในผู้หญิงหลังคลอดบุตรบางคน เส้นผมที่ขึ้นมาใหม่อาจจะไม่หนาเหมือนเดิม จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์
ผู้หญิงที่หยุดใช้หรือเปลี่ยนยาคุมกำเนิด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมได้มากๆเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะคนที่กินยามาเป็นเวลานาน และหยุดยาคุมลงอย่างกระทันหัน เช่น หลังสามีไปทำหมันมา ทำให้ระดับฮอร์โมนที่ได้จากยาคุมกำเนิดลดลงอย่างรวดเร็ว และเกิดผมร่วงตามมา
อาการผมร่วงจากการหยุดยาคุมกำเนิด อาจเป็นต่อเนื่องได้นานถึง 1 เดือน แต่ในที่สุดแล้ว ร่างกายก็จะค่อยๆปรับฮอร์โมนจนเกิดความสมดุล เส้นผมก็จะหยุดร่วง และงอกมาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง
ผมร่วงวัยทองจัดเป็นผมร่วงจากฮอร์โมนผู้หญิงอีกชนิดหนึ่ง เพราะเมื่อผู้หญิงย่างเข้าสู่วัยทอง ก็จะมีการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
เนื่องจากฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้ ช่วยในการสร้างและทำให้เส้นผมงอกยาว เมื่อระดับของฮอร์โมนดังกล่าวลดลง จึงทำเส้นผมงอกช้า และเส้นเล็กลง
การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน (ซึ่งเป็นฮอร์โมนผู้ชาย ที่มีอยู่ในตัวผู้หญิงด้วยเช่นกัน) ให้มีมากขึ้นกว่าปกติ จึงยิ่งทำให้เส้นผมร่วงมากขึ้น
นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุยังมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น เซลล์รากผมของผู้สูงอายุเกิดการเสื่อมไปตามวัยอีกด้วย
ผู้หญิงวัยทองบางคนยังอาจมีโรคเรื้อรัง หรือต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน อาการผมร่วงจึงอาจเกิดจากขาดวิตามินร่วมด้วย เพราะบริโภคอาหารได้น้อยลง
เริ่มมีอาการผมร่วงตรงกลางหัวหลังหมดประจำเดือน หรือตอนอายุมาก เช่น 40-50 ปี แม้ว่าจะยังมีประจำเดือนอยู่ก็ตาม เพราะระดับฮอร์โมนเริ่มลดต่ำลงมาก
อาการอื่นที่พบร่วมด้วยในวัยทอง ได้แก่ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ผิวแห้ง อาการร้อนวูบวาบตามผิวหนัง น้ำหนักตัวเพิ่ม สารคัดหลั่งในช่องคลอดลดลง ฯลฯ ทำให้ผู้หญิงหลายคนเกิดความเครียดและทำให้ผมร่วงเพิ่มมากขึ้น
ปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาให้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน
อาการผมร่วงมะเร็ง เกิดจากการได้รับยารักษามะเร็ง / ยาคีโม (CHEMOTHERAPY)
หรืออาจเกิดจากการฉายแสง (RADIATION) บริเวณศีรษะ ทำให้เส้นผมร่วงได้มากเหมือนการทำคีโมเช่นเดียวกัน
นอกจากเส้นผมแล้ว ขนตามร่างกายก็จะร่วงด้วยเช่นเดียวกัน ยาเคมีบำบัดอาจทำให้เส้นผมร่วงได้มากถึง 500-1000 เส้นต่อวัน
ไม่ต้องทำอะไร เพราะผมร่วงมะเร็งเกิดจากผลข้างเคียงของยา เส้นผมจะงอกได้ใหม่หลังหยุดยาประมาณ 4-8 เดือน
ความเครียดเกิดได้ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น หลังฟื้นไข้ หลังผ่าตัดใหญ่ มีเรื่องทุกข์ใจ ฯลฯ แต่อาการผมร่วงจากความเครียดจะไม่เกิดขึ้นในทันที ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ที่ทำให้เราเกิดความเครียดได้ผ่านพ้นไปแล้วประมาณ 3-4 เดือน ทำให้เราคิดไม่ถึงว่าอาการผมร่วงเกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าว
หาวิธีลดความเครียด เช่น ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ
ผมร่วงจากความเครียดเป็นภาวะชั่วคราว เส้นผมจะขึ้นมาใหม่เป็นปกติในเวลาต่อมา
ผู้หญิงที่มีผมร่วงเนื่องจากโลหิตจางพบได้บ่อยกว่าในผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงจะมีระดับความเข้มข้นเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าผู้ชายอยู่แล้ว และยังมีการสูญเสียเลือดจากการมีประจำเดือนอีกด้วย จึงทำให้เกิดเลือดจางได้ง่าย
จากการสูญเสียเลือดแบบเรื้อรัง เช่น มีประจำเดือนออกมากและนานกว่าปกติ
การบริโภคธาตุเหล็กไม่เพียงพอ เช่น การอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก การกินอาหารมังสวิรัติ อาหารเจ เป็นต้น
โรคเลือดบางชนิด เช่น โรคเลือดธาลัสซีเมีย
สาเหตุที่ทำให้ผมร่วงจากโลหิตจางเพราะ ฮีโมโกลบินที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงซึ่งเป็นตัวนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆของร่างกาย มีจำนวนลดลงจากภาวะโลหิตจาง
เซลล์รากผม (HAIR FOLLICLES) ก็ต้องการออกซิเจนมาเลี้ยงเช่นเดียวกันกับเซลล์อื่นๆของร่างกาย เมื่อปริมาณออกซิเจนที่มาเลี้ยงลดลง เซลล์รากผมจึงอยู่ในสภาวะขาดออกซิเจน ทำให้ขบวนการสร้างเส้นผมจากเซลล์รากผมลดลงตามไปด้วย เส้นผมจึงบางลง และร่วงมากผิดปกติ
สังเกตเห็นได้ตอนสระผม ว่ามีเส้นผมร่วงติดมือออกมาเป็นจำนวนมาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโลหิตจาง
กินยาบำรุงเลือด เพื่อเพิ่มธาตุเหล็ก
กินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วต่างๆ
รังแคไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ผมร่วง แต่เป็นสาเหตุทางอ้อม เพราะคนที่มีรังแคจะมีหนังศีรษะแห้งและคัน จึงมักจะชอบเกา ทำให้รากผมอักเสบและมีผมร่วงตามมา
เกิดจากเชื้อรา MELASSEZIA ลักษณะคล้ายยีสต์
หนังศีรษะมีการระคายเคือง
หนังศีรษะมัน
หนังศีรษะอักเสบ
การสระผมมากหรือน้อยเกินไป
มีสะเก็ดสีขาวหรือเหลืองอ่อนขนาดเล็ก เป็นแผ่นบางและแบน พบที่เส้นผม หนังศีรษะ หรือหัวไหล่
หนังศีรษะแดง เป็นสะเก็ด และมีอาการคัน
ใช้แชมพูกำจัดรังแค เช่น
-KETOCONAZOLE SHAMPOO
-SELENIUM SULFIDE SHAMPOO
-ZINC PYRITHIONE SHAMPOO
โรคผมร่วงเป็นหย่อม / ผมร่วงเป็นกระจุก หรือ โรค AA (ALOPECIA AREATA) เป็นโรคที่ทำให้เกิดผมร่วงในผู้หญิง ที่พบได้บ่อยเป็นที่ 2 รองมาจากผมร่วงจากกรรมพันธุ์
สาเหตุของผมร่วงเป็นหย่อมๆ/กระจุกในผู้หญิง เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไปทำลายเซลล์รากผมของตัวเอง
โรคผมร่วงเป็นหย่อมไม่ได้เกิดจากเชื้อราไปกินรากผม จนเกิดผมร่วงเป็นหย่อมๆแต่อย่างใด
พบผมร่วง / ผมแหว่ง เป็นหย่อมๆ หรือ เป็นกระจุกๆ ลักษณะเป็นวงกลม มีขนาดประมาณเหรียญ 5 บาท หรือ 10 บาท อาจมีเพียงจุดเดียว หรือหลายจุดก็ได้
บางรายมีอาการรุนแรงจนเส้นผมร่วงหมดทั้งศีรษะเรียกว่า ALOPECIA TOTALIS
ส่วนรายที่เป็นรุนแรงที่สุด นอกจากเส้นผมแล้ว เส้นขนตามที่ต่างๆในร่างกายก็จะร่วงจนหมด เรียกชื่อว่า ALOPECIA UNIVERSALIS
แพทย์อาจจะพิจารณาใช้ยารักษาผมร่วง MINOXIDIL LOTION เพื่อกระตุ้นให้รากผมสร้างเส้นผมใหม่ หรือใช้ยา STEROID CREAM / INJECTION ในการรักษาขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
การรักษาด้วยสมุนไพร เช่น กระเทียม เป็นความเชื่อที่ผิดๆ เพราะใช้แล้วก็คงไม่ได้ผล
แม้จะไม่ได้รับการรักษาใดๆ โรคผมร่วงเป็นหย่อมก็สามารถหายได้เองภายใน 1-3 ปี แต่มีโอกาสเกิดโรคซ้ำได้ประมาณ 30-40% หรืออาจเป็นรุนแรงมากขึ้นก็ได้
โรค เอสแอลอี หรือ SLE มีชื่อเต็มว่า SYSTEMIC LUPUS ERYMATOSUS หรือที่คนไทยชอบเรียกว่าโรคพุ่มพวง
SLE เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
สาเหตุเชื่อว่าน่าจะเกิดจากความไม่สมดุลของการใช้ชีวิต การทำงานที่มากเกินไป การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ความเครียด ฯลฯ
SLE ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ คือแทนที่จะทำหน้าที่ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค แต่กลับไปทำลายเซลล์และอวัยวะต่างๆของตัวเอง จึงก่อให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ข้ออักเสบ รากผมอักเสบ ทำให้ผมร่วง
ผมร่วงอาจเป็นอาการสำคัญ ที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ก่อนที่จะมีความผิดปกติอย่างอื่นตามมา
อาจเกิดการอักเสบที่หนังศีรษะมีลักษณะเป็นวง เรียกว่า DISCOID LESION เป็นผลทำให้เกิดแผลเป็น และผมไม่ขึ้นแบบถาวรได้
ปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
TRACTION ALOPECIA
ผู้หญิงที่ชอบรวบผมแน่นหรือตึงเกินไปเป็นระยะเวลานานๆ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน
นอกจากนั้น การมีพฤติกรรมที่ทำร้ายเส้นผมเช่น การใช้ไดร์เป่าผม การหนีบผม ด้วยความร้อนสูง การย้อมผม ยืดผม การทำสีผมที่บ่อยจนเกินไป ทำให้ผมแห้งเสีย แตกปลาย และยังทำให้หนังศีรษะแห้ง ขาดความชุ่มชื้น ล้วนเป็นสาเหตุที่เส้นผมหลุดร่วงได้เช่นเดียวกัน
1.พยายามนับดูว่า ผมร่วงวันละกี่เส้น (เท่าที่นับได้) โดยอาจลองนับดูสัก 1 สัปดาห์ แล้วหาค่าเฉลี่ยว่าผมร่วงกี่เส้นต่อวัน
2.ผมร่วงที่มากผิดปกติ มีความสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้าง เช่น มีประวัติผมร่วงกรรมพันธุ์ของคนในครอบครัว ความผิดปกติของสุขภาพ การลดน้ำหนัก เกิดขึ้นหลังคลอดบุตร ความเครียด เป็นต้น
3.สังเกตลักษณะของผมร่วงว่า เป็นผมร่วงเฉพาะบางจุด หรือผมร่วงทั่วทั้งศีรษะ
4.ปรึกษาแพทย์ผิวหนัง หรือแพทย์เฉพาะทางเส้นผมทันที เพื่อรักษาที่สาเหตุที่ทำให้ผมร่วงแต่เนิ่นๆ อย่าทิ้งไว้นาน
หากคุณผู้หญิงมีผมร่วงมากร่วมกับเส้นผมบางลง ก็ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ใช่ไปซื้อวิตามินมากินแก้ผมร่วง หรือซื้อยารักษาผมร่วงผู้หญิงมาลองใช้
เพราะสาเหตุของผมร่วงผู้หญิงมีมากมาย จึงควรรักษาอย่างถูกวิธี ไม่ควรซื้อยามาใช้เองเพราะนอกจากจะไม่สามารถแก้ผมร่วงได้แล้ว ยังอาจเกิดอันตราย หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้
เส้นผมกับผู้หญิงเป็นของคู่กัน ไก่งามเพราะขนฉันใด ผู้หญิงก็งามเพราะเส้นผมฉันนั้น