คลินิกปลูกผม THTC
ปลูกผมแบบมีคุณภาพ
โดยแพทย์ American Board
✅ ปรึกษา ONLINE
โดยแพทย์ American Board
อาการผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านในผู้ชาย เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์ ฮอร์โมน ความเครียด โรคของหนังศีรษะ ฯลฯ
ผู้ชายบางคนอาจเริ่มมีผมร่วง ผมบาง ตั้งแต่ตอนเริ่มเป็นวัยรุ่นอายุ 15-17 ปี แต่บางคนก็เป็นตอนเป็นผู้ใหญ่ หรือเมื่ออายุมากแล้วก็มี
ปกติเส้นผมผู้ชายจะร่วงได้ไม่เกิน 50 - 100 เส้นต่อวัน
แต่ถ้ามีผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน ก็จะถือว่ามีผมร่วงมากผิดปกติ และก็ควรหาสาเหตุของผมร่วงให้พบโดยเร็วอย่านิ่งนอนใจ
เพราะการแก้ไขอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม จะให้ผลการรักษาดีกว่าปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนาน
สาเหตุผมร่วงของผู้ชาย จะแตกต่างจากสาเหตุผมร่วงของผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ
ผู้ชายหลายคนที่กำลังมีปัญหาเรื่องผมร่วง มักจะเข้าใจผิดคิดไปเองว่า สาเหตุผมร่วงของตัวเอง เกิดจากกินอาหารไม่เพียงพอทำให้ขาดวิตามิน หรือเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย สูบบุหรี่จัด เครียด หรือดื่มเหล้ามากเกินไป
และก็มีผู้ชายจำนวนไม่น้อยที่พยายามจะค้นหาวิธีแก้ผมร่วงจาก INTERNET โดยอาจเข้าไปหาข้อมูลจากเว็บไซต์ยอดนิยม เช่น PANTIP หรือดูรีวิวต่างๆ ว่าต้องทำยังไง เพื่อแก้ผมร่วงดี
บางคนก็เลือกซื้ออาหารเสริม หรือวิตามิน แก้ผมร่วง ที่รีวิวโฆษณากันตามสื่อต่างๆ เช่น FACEBOOK มากิน หรือบางคนก็ลองซื้อแชมพูแก้ผมร่วงมาใช้ แต่ก็มักไม่ได้ผล เพราะต้นเหตุของผมร่วงส่วนใหญ่ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุดังกล่าว
✅ 7.สารพิษ
ผมร่วงกรรมพันธุ์ผู้ชาย เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ที่ทำให้เกิดผมบาง หัวล้าน ในผู้ชาย พบได้มากถึง 90%
การที่จะดูว่าเราเป็นผมร่วงจากกรรมพันธุ์หรือไม่นั้นไม่ยาก เพราะ ผมร่วง ผมบาง จากกรรมพันธุ์ มีลักษณะจำเพาะ ไม่เหมือนศีรษะล้านจากสาเหตุอื่น
อาการเริ่มแรกมักจะเริ่มจากมีหัวเถิกเป็นง่ามคล้ายตัว M และจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆตามอายุ
ต่อมาก็จะมีผมบางตรงขวัญ/ไข่ดาว ซึ่งจะขยายวงกว้างมากขึ้น จนระยะสุดท้าย ศีรษะเถิกทางด้านหน้าและศีรษะล้านตรงด้านหลังก็จะลามเข้าหากัน กลายเป็นขุนช้าง (ศีรษะล้านมาก)
นายแพทย์ O'Tar Norwood แพทย์ปลูกผมชาวอเมริกัน ได้จำแนกลักษณะของผมร่วง หรือศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ ออกเป็น 7 ระดับ ตามความรุนแรง เริ่มตั้งแต่ TYPE 2-7 (ดูรูปประกอบ)
หากท่านกำลังมีปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ที่มีลักษณะตามที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นแบบ TYPE ไหนก็ตาม แสดงว่าท่านกำลังเป็นศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์อยู่
ศีรษะล้านจากรรมพันธุ์ ไม่จำเป็นต้องมีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นศีรษะล้านร่วมด้วย
เพราะยีน/โครโมโซมหัวล้าน อาจถ่ายทอดต่อกันมาจากรุ่นคุณทวดหรือก่อนหน้านั้น แต่ไม่แสดงอาการให้เห็นในรุ่นคุณปู่ คุณพ่อ (แฝงอยู่ในตัว) และมาแสดงออกที่ตัวเราก็เป็นได้
ณ ปัจจุบัน เชื่อว่า ยีน/โครโมโซมหัวล้าน มีหลายตัว และสามารถถ่ายทอดมาจากทั้งฝ่ายบิดา/มารดา หรืออาจมาจากทั้ง 2 ฝ่าย คนที่ได้รับ ยีน/โครโมโซมหัวล้านมา อาจจะมีศีรษะล้านหรือไม่มีก็ได้ (แฝงอยู่ในตัว) ขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ ที่การแพทย์ในปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้
ผู้ชายที่เป็นศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ จะได้รับยีน/โครโมโซมหัวล้าน มาจากบรรพบุรุษ
แต่ยีนหัวล้าน จะยังไม่แสดงอาการออกมาตอนเป็นเด็ก เนื่องจากยังไม่มีฮอร์โมนเพศชาย จนเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นและเริ่มมีฮอร์โมน ฮอร์โมนเพศชายจะไปกระตุ้นให้ยีนหัวล้าน แสดงอาการออกมา
ศีรษะล้านจากรรมพันธุ์ จะเกิดขึ้นได้ต้องมี ปัจจัย 2 อย่างร่วมกัน คือ
ยีน/โครโมโซม ศีรษะล้าน + ฮอร์โมนเพศชาย หากขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ก็จะไม่มีอาการแสดงให้เห็น
ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ชายที่มีศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ แล้วไปแปลงเพศเป็นหญิง โดยตัดลูกอัณฑะออก ศีรษะล้านก็จะหยุดและไม่ลุกลาม เนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศชาย
ผู้ชายบางคนอาจเริ่มมีศีรษะล้านตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น อายุ 15 - 16 ปี เพราะเริ่มมีฮอร์โมนเพศชาย โดยอาจสังเกตเห็นหน้าผากเถิกลึกเข้าไปเป็นง่าม รูปตัว M และจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ
แต่บางคนอาจมีศีรษะล้านตอนอายุมากแล้วก็เป็นได้ บางรายอาจมีศีรษะล้านด้านหลังตรงขวัญร่วมด้วย ซึ่งจะเป็นมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ของคนๆนั้น
ภาวะหัวล้านจากกรรมพันธุ์สามารถแก้ไขได้ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อขอคำแนะนำ โดยทั่วไป ถ้าเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุยังน้อย (เป็นเร็ว) จะมีโอกาสสูงที่จะมีศีรษะมากในอนาคต จึงควรรีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
การรักษาผมร่วง ผมบาง ผู้ชาย ที่เกิดจากกรรมพันธุ์มีหลายวิธี ได้แก่
บางคนอาจต้องใช้หลายๆวิธีร่วมกันในการรักษา
ยาที่ใช้รักษาผมร่วงกรรมพันธุ์ในผู้ชายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
FINASTERIDE ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งฮอร์โมนเพศชาย ที่มีชื่อว่า DHT ซึ่งเป็นสาเหตุของผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการใช้ยา เพื่อความปลอดภัยต่อตัวของท่านเอง เช่น ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ศิริราช หรือสถาบันโรคผิวหนัง ก็มีแพทย์ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องนี้อยู่
ส่วนการรักษาผมร่วงกรรมพันธุ์ในผู้หญิงจะแตกต่างจากผู้ชาย ยาที่ใช้รักษาผมร่วงก็แตกต่างกันด้วย อ่านเพิ่มเติม
การรักษาโดยการปลูกผมถาวรเป็นการรักษาศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ที่ได้ผลดี
ควรเลือกแพทย์ที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ เพื่อให้ผลลัพธ์ดูเป็นธรรมชาติ
ทำโดยการดูดเอาเลือดมาปั่น เพื่อแยกเอาเกร็ดเลือดที่มีความเข้มข้นสูง ที่เรียกว่า PRP (PLATELET RICH PLASMA) ไปฉีดตรงบริเวณที่มีผมบาง เพื่อกระตุ้นรากผมให้สร้างเส้นผมใหม่
PRP ใช้ได้ผลเพียงบางคนเท่านั้น บางคนได้ผลดี บางคนก็ได้ผลไม่ดี
การรักษาด้วย การฉายแสง LASER ไปที่หนังศีรษะ หรือการสวมหมวก LASER เพื่อฟื้นฟูสภาพเส้นผม ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
ผลการรักษาขึ้นกับแต่ละบุคคล บางคนได้ผลดี บางคนก็ได้ผลไม่ดี
โรคผมร่วงเป็นหย่อม มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "ALOPECIA AREATA หรือ AA" เป็นโรคที่ทำให้เกิดผมร่วงเป็นหย่อมๆ หรือเป็นกระจุก โรคนี้อาจเป็นกับผู้หญิงได้ด้วยเช่นกัน
ALOPECIA AREATA เป็นสาเหตุของผมร่วงในผู้ชาย ที่พบได้บ่อยรองลงมาจากโรคผมร่วงจากกรรพันธุ์
โรคผมร่วงเป็นหย่อมไม่ได้เกิดจากเชื้อราอย่างที่บางคนเข้าใจ
เชื่อว่าสาเหตุของโรคผมร่วงเป็นหย่อม เกิดจากมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ทำให้เกิดขบวนการที่ไปทำลายเส้นผมที่หนังศีรษะ หรือเส้นขนที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ขนคิ้ว ขนหนวด เครา (ดูรูปประกอบ) เป็นต้น
พบเส้นผม หรือเส้นขนร่วงเป็นหย่อมๆ หรือเป็นกระจุกๆ ลักษณะเป็นวงกลมๆ ขนาดประมาณเหรียญ 5 หรือ เหรียญ 10 บาท อาจมีเพียงวงเดียว หรือหลายวงก็ได้
โรคผมร่วงเป็นหย่อมอาจจะหายได้เองภายใน 1-2 ปี แม้จะไม่ได้รับการรักษาก็ตาม
แต่ในบางราย โรคนี้ก็อาจจะเป็นลุกลามมากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน โดยจะมีผมร่วงทั้งหัว เรียกชื่อว่า "ALOPECIA TOTALIS"
✅ 1.ใช้ยา STEROID ชนิดทา หรือชนิดฉีด ฉีดตรงรอยโรค เพื่อให้โรคสงบ และกระตุ้นให้เส้นผมงอกใหม่ได้เร็วขึ้น
✅ 2.ใช้ยา MINOXIDIL LOTION ทาบริเวณรอยโรค เพื่อกระตุ้นให้รากผมสร้างเส้นผมใหม่
✅ 3.ปลูกผมถาวร ใช้ในกรณีที่รักษาทางยามาเป็นเวลานานจนโรคสงบแล้ว แต่ไม่มีเส้นผมขึ้นมาตรงรอยโรคนั้น
การใช้สมุนไพรรักษาผมร่วงเป็นหย่อม มักใช้ไม่ได้ผล แต่เนื่องจากโรคผมร่วงเป็นหย่อม อาจจะหายได้เอง (แม้ไม่ได้รักษา) หากบังเอิญไปใช้สมุนไพรในระยะที่โรคนี้กำลังจะหายพอดี ก็อาจเกิดอุปาทานว่า โรคหายเพราะสมุนไพรก็เป็นได้
ควรรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อมกับแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมโดยตรง หรืออาจรักษากับแพทย์ผิวหนัง ตามโรงพยาบาลหรือคลินิกก็ได้เช่นกัน
โรคผมร่วงเป็นหย่อมไม่สามารถป้องกันได้ 100%
แต่ถ้าเรารักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น ไม่นอนดึก พยายามลดความเครียด ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ก็จะช่วยป้องกันโรคนี้ได้พอสมควร
โรคถอนผมตัวเอง หรือ โรคดึงผมตัวเอง มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า "TRICHOTILLOMANIA หรือ TTM"
จัดเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่คนไข้จะถอน/ดึงผม หรือขนของตัวเอง เช่น ขนคิ้ว ขนตา จนแหว่ง
สาเหตุของผมร่วงจึงเกิดจากการถอนผม ไม่ใช่เส้นผมร่วงออกมาเอง
โรคดึงผมตัวเองเกิดจากความผิดปกติทางด้านจิตใจ โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม
เมื่อใดก็ตามที่เกิดความเครียด ความกดดัน ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความเหงา คนไข้ก็จะดึง/ถอนผม หรือขนตัวเอง เพื่อเป็นการลดความกดดัน และรู้สึกผ่อนคลาย โดยที่ตัวคนไข้เองอาจะรู้หรือไม่รู้ตัวก็ได้ และไม่สามารถยับยั้งใจตัวเองไม่ให้กระทำได้
ถ้า ดึง/ถอน ผมเพียงไม่กี่ครั้ง เส้นผมก็สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้เพราะรากผมยังไม่ตาย แต่ถ้าทำอยู่บ่อยๆ รากผมก็จะเกิดความชอกช้ำและตายไปในที่สุด ทำให้ไม่มีเส้นผมงอกขึ้นมาใหม่อีก
คนไข้จะ ถอน/ดึงผมที่ศีรษะ ขนคิ้ว ขนตา หรือขนตามส่วนอื่นๆของร่างกายของตัวเอง เมื่อเกิดความเครียด ความกดดันเพื่อเป็นการผ่อนคลาย
คนไข้บางรายนำเอาเส้นผมที่ถอนมาถูเล่น หรืออาจนำเอาเส้นผมมาเคี้ยวและกลืนเข้าไป
ตรวจพบว่ามีผมแหว่งบริเวณหนังศีรษะ คิ้ว ขนตา หรือจากบริเวณที่ถูกถอน
✅ 1.ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อทำพฤติกรรมบำบัด เช่น HABIT REVERSAL TRAINING
✅ 2.ยารักษาโรคดึงผมตัวเอง ที่จิตแพทย์นิยมใช้ ได้แก่
CLOMIPRAMINE
FLUOXETINE
SERTRALINE
PAROXETINE
✅ 3.ปลูกผมถาวร หลังจากคนไข้หายขาดจากโรคนี้แล้ว ถ้าเส้นผมที่ถูกถอนไม่ขึ้นมาใหม่ ก็สามารถปลูกผมถาวรทดแทนได้
ไม่ว่าความเครียด จะเป็นด้านร่างกายหรือจิตใจ ก็ทำให้ผู้ชายผมร่วงได้เช่นกัน แต่จะไม่ได้เกิดอาการในทันที
ส่วนมากมักจะมีอาการหลังจากความเครียดผ่านพ้นไปแล้วประมาณ 2-3 เดือน จนทำให้ไม่ได้นึกถึงว่าผมร่วงที่เป็นอยู่ขณะนี้ มีสาเหตุมาจากความเครียดเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้ว
ในภาวะปกติเส้นผมบนศีรษะโดยเฉลี่ยมีจำนวน 100,000 เส้นต่อคน
90% หรือ 90,000 เส้นจะอยู่ในระยะงอก (ANAGEN PHASE)
มีเพียง 10% ของเส้นผมหรือ 10,000 เส้น ที่จะอยู่ในระยะร่วง (TELOGEN PHASE)
ปริมาณเส้นผม 10,000 เส้นนี้ จะทะยอยร่วงไปทุกวัน ใช้เวลาประมาณ 100 -200 วัน กว่าจะร่วงหมด
ผมร่วงปกติจึงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 50 -100 เส้นต่อวัน (10,000 หาร 100 -200)
แต่ความเครียดส่งผลให้เส้นผมที่อยู่ในระยะงอกถูกกระตุ้นให้เข้าสู่ระยะร่วง ได้เร็วขึ้น ซึ่งอาจมีมากถึง 3-5 เท่าของค่าปกติ
จึงทำให้เกิดผมร่วงได้มากถึง 150 - 500 เส้นต่อวัน
ความเครียด นอกจากส่งผลกระทบโดยตรงต่อการร่วงของเส้นผมแล้ว
ยังมีปัจจัยร่วมจากการที่กินอาหารไม่ค่อยได้ น้ำหนักตัวลดลง ทำให้เกิดผมร่วงมากกว่าปกติอีกด้วย
ผมร่วงมากผิดปกติทั่วๆทั้งศีรษะ เกิดขึ้นขณะหวีผม สระผม
✅ ภาวะนี้มักเป็นเพียงชั่วคราว เมื่อความเครียดหมดไป เส้นผมก็จะขึ้นมาใหม่อีก แต่ก็ใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะขึ้นหมด
✅ ใช้วิธีบำบัดความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ
✅ การออกกำลังกาย เป็นการลดความเครียดที่ดีและรวดเร็ว
✅ ปรึกษาจิตแพทย์
✅ สิ่งสำคัญก็คือ ต้องแก้ที่ต้นเหตุของความเครียด เพื่อป้องกันไม่ให้ผมร่วงเกิดซ้ำอีก
SYPHILIS เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้
ผมร่วงจาก SYPHILIS จะเกิดขึ้นใน "ซิฟิลิสระยะที่สอง" หรือ SECONDARY SYPHILIS
พบลักษณะผมร่วงเป็นหย่อมๆเหมือนถูกแมงแทะ (MOTH-EATEN)
นอกจากเส้นผมจะร่วงแล้ว คนไข้อาจมีขนคิ้วส่วนหางคิ้วร่วงร่วมด้วย แต่ขนที่หัวคิ้วจะไม่ร่วง
อาการที่พบร่วม ได้แก่ ไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดข้อ
✅ ใช้ยา PENICILLIN
ไม่เที่ยวซุกซน
สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่น
เกิดจากการสัมผัสกับเชื้อราที่ปนเปื้อนมากับเสื้อผ้า เครื่องใช้ส่วนตัว ดิน สัตว์เลี้ยง
โรคที่พบได้บ่อยคือ โรคกลากที่หนังศีรษะและเส้นผม (TINEA CAPITIS OR RINGWORM)
เชื้อราที่ก่อโรค คือ T.TONSURANS และ M.CANIS
จะมีผมร่วงเป็นหย่อมๆ เส้นผมเปราะ หักง่าย พบวงขอบนูนแดงเป็นวงกลมหรือวงแหวน ขอบเขตชัดเจน และมีขนาดต่างๆกัน พบขุยสีขาวอมเทาที่หนังศีรษะ
✅ ใช้ยาต้านเชื้อรา (ANTI-FUNGAL AGENT) ซึ่งมีทั้งชนิดกินและชนิดทา
รักษาความสะอาดของหนังศีรษะ โดยการสระผมอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
หากสระผมตอนกลางคืน ต้องเป่าผมให้แห้งก่อนนอน ไม่ควรเข้านอนขณะที่ผมยังเปียกน้ำอยู่
ทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว อาบน้ำสัตว์เลี้ยงบ่อยๆ
ผู้ชายบางคนที่มีโรคประจำตัว และจำเป็นต้องใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงจากยาที่ใช้ได้
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น HEPARIN, WARFARIN
ยารักษาสิว เช่น ACCUTANE
ยาลดไขมันในเลือด เช่น LOPID
ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น PROZAC
ยารักษาโรคเก๊าท์ เช่น ALLOPURINOL
ยาโรคหัวใจ เช่น NIFEDIPINE
ยาต้านไวรัส เช่น ACYCLOVIA
การบริโภค วิตามิน A หรือ SELENIUM เป็นปริมาณมากๆ
มีผมร่วงมากผิดปกติ ร่วมกับมีประวัติว่าใช้ยาดังกล่าวอยู่
✅ หยุดยาดังกล่าว เปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นแทน
แจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากมีอาการผิดปกติหลังการใช้ยา
บางคนที่ประกอบอาชีพที่ต้องสัมผัสกับสารพิษหรือสารเคมี เช่น การทำเกษตรกรรม การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
หรือการบริโภคน้ำดื่มน้ำ อาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน ทำให้ปริมาณสารพิษค่อยๆสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดอาการผมร่วงตามมา
สารหนู (ARSENIC POISONING)
สารตะกั่ว (LEAD POISONING)
สารปรอท (MERCURY )
สารแทลเลียม (THALLIUM)
สารลิเทียม (LITHIUM)
ผมร่วงมากผิดปกติ ร่วมกับมีประวัติสัมผัส หรือบริโภค สารเคมี สารพิษดังกล่าว
✅ ปรึกษาแพทย์
สวมชุดป้องกันสารพิษขณะปฎิบัติงาน
เปลี่ยนชุดที่สวมใส่ อาบน้ำ ล้างมือ หลังเสร็จภารกิจ
การผ่าตัดใหญ่ ถือเป็นความเครียดทางร่างกายแบบหนึ่ง หลังผ่าตัดเราจำเป็นต้องใช้พลังงานอย่างมากในการฟื้นฟูสภาพร่างกาย
เซลล์รากผม ซึ่งโตไว และได้รับพลังงานในการสร้างเส้นผมไม่เพียงพอ จึงหยุดสร้างเส้นผม และเข้าสู่ระยะร่วงมากขึ้น
1.หลังการผ่าตัด มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย จากการพักฟื้น นอนติดเตียงเป็นเวลานานนานและไม่ได้เคลื่อนไหว
2.มีรายงานว่า การดมยาสลบเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุของผมร่วงได้ เนื่องจากไปยับยั้งการเจริญของเซลล์ที่โตไว เช่น เซลล์รากผม ทำให้เกิดผมร่วงตามมาหลังผ่าตัด
3.ศีรษะต้องอยู่ในท่าเดิมห้ามเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน จากการผ่าตัดบริเวณศีรษะหรือต้นคอ จึงอาจเกิดมีผมร่วงตรงบริเวณที่มีการกดทับ เรียกชื่อว่า POSITIONAL ALOPECIA
อาการไม่ได้เกิดทันที แต่จะเกิดหลังผ่าตัดประมาณ 2-3 เดือน
ผมร่วงมากผิดปกติ ขณะหวีผม สระผม พบเส้นผมหลายเส้นติดที่ปลอกหมอน
✅ อาการจะหายไปได้เอง ภายใน 1-2 เดือน โดยไม่ต้องการการรักษาใดใด
ควรพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายเบาๆ หลังผ่าตัด เช่น การเดิน
กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ และมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงเส้นผมให้เพียงพอ เช่น อาหารที่มีโปรตีนสูง พืชผัก ผลไม้
กินวิตามินเสริม เช่น ZINC, BIOTIN
โรคประจำตัว โรคเรื้อรัง หรือโรคที่ทำให้เกิดไข้สูงๆ ก็เป็นสาเหตุของผมร่วงในผู้ชายได้เช่นกัน
ไข้ไทฟอยด์ (TYPHOID FEVER)
ไข้มาลาเรีย (MALARIA)
วัณโรค (TUBERCULOSIS)
โรคเอดส์ (HIV INFECTION)
โรคเบาหวาน (DIABETES MELLITUS)
โรคความดันโลหิตสูง (HIGH BLOOD PRESSURE)
โรคไต (RENAL FAILURE)
✅ ปรึกษาแพทย์ รักษาตามโรคที่เป็นสาเหตุของผมร่วง
เนื่องจากสาเหตุของผมร่วงมีมากมาย การรักษาผมร่วงในผู้ชายที่ถูกต้องและได้ผลดี จึงควรไปพบแพทย์ ดีกว่าการลองผิดลองถูก การรักษาในระยะเริ่มแรก จะได้ผลดีกว่าเมื่อเป็นมากแล้ว
ยิ่งเริ่มรักษาเร็วเท่าใด เส้นผมที่คุณรักและหวงแหน ก็มีโอกาสที่จะอยู่กับคุณนานขึ้นเท่านั้น หากรักษาช้าไปก็ยากที่จะฟื้นฟูแก้ไข