คลินิก ปลูกผม THTC

ปลูกผมแบบมีคุณภาพ

โดยแพทย์ American Board

ปุ่ม ภาษาอังกฤษ

ปลูกผมไม่ต้องผ่าตัด

ปลูกผมไม่ต้องผ่าตัด

มีคนหัวล้านจำนวนมากที่สนใจจะปลูกผม แต่ก็กลัวการผ่าตัด พอได้ยินคำโฆษณาที่ว่า "ปลูกผมแบบไม่ต้องผ่าตัด" ก็เกิดความสนใจ แต่ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่ามันมีจริงไหม ? ถ้ามีจริงมันคือวิธีอะไร ? มีขบวนการทำอย่างไร ? หรือเป็นเพียงคำโฆษณา เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้น

สารบัญ

ปลูกผมแบบไม่ผ่าตัด มีจริงไหม ?

การปลูกผมแบบไม่ผ่าตัดมีจริง แต่ไม่ได้หมายถึง การปลูกผมถาวรแบบ FUE ที่ใช้โฆษณากันอย่างแพร่หลายตามสื่อต่างๆ ทำให้คนเข้าใจผิด 

การปลูกผมถาวร ทุกวิธีเป็นการผ่าตัด ไม่ว่าจะปลูกด้วยเทคนิค FUT FUE DHI ROBOT หรืออะไรก็ตาม

การปลูกผมแบบไม่ผ่าตัด มีกี่วิธี อะไรบ้าง ?

ปัจจุบันการปลูกผมแบบไม่ผ่าตัด ที่นิยมใช้มีด้วยกัน 3 วิธี คือ

1.การใช้ยาปลูกผม 

2.PRP ผม หรือ PRP ปลูกผม (PLATELET RICH PLASMA)

3.ฉายแสงหรือเลเซอร์ปลูกผม (LOW LEVEL LASER THERAPY) หรือ LLLT

1. การใช้ยาปลูกผม

การใช้ยาปลูกผมเป็นวิธีที่ปลอดภัย ได้ผลดี และได้รับการรับรองผลการรักษาจาก FDA หรือ อ.ย. อเมริกา แต่ต้องเป็นยาปลูกผมที่แพทย์ใช้เท่านั้น ยาปลูกผมที่วางขายตามท้องตลาดหรือขายทาง ONLINE ไม่ได้มีการรับรองว่าใช้ได้ผลจริง ยาปลูกผมที่ใช้ในทางการแพทย์ ได้แก่

FINASTERIDE

ข้อดี

ข้อเสีย

MINOXIDIL

ข้อดี

ข้อเสีย

DUTASTERIDE

ข้อดี

ข้อเสีย

2. PRP ผม หรือ PRP ปลูกผม (PLATELET RICH PLASMA)

การทำ PRP ผม (PLATELET RICH PLASMA ) เป็นนวัตกรรมในการปลูกผมไม่ผ่าตัดอีกรูปแบบหนึ่งโดยยึดหลักว่า ในเกร็ดเลือด (PLATELET) เป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมของสารชนิดหนึ่งเรียกว่า GROWTH FACTORS ซึ่งจะทำหน้าที่ไปกระตุ้นเนื้อเยื่อเพื่อการซ่อมแซม เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้นกับร่างกาย 

ถ้าเรานำเลือดของเรามาปั่น เพื่อแยกเอาเกร็ดเลือดออก และทำให้มีความเข้มข้นมากขึ้น แล้วนำไปฉีดยังบริเวณที่ต้องการ ก็จะน่าจะช่วยเรื่องการฟื้นตัวและซ่อมแซมเซลล์รากผมบริเวณนั้นให้แข็งแรงขึ้น

จาการศึษาและทดลองพบว่าเมื่อนำ PRP ไปฉีดที่หนังศีรษะที่ยังมีเส้นผมอยู่ หรือฉีดบริเวณที่ปลูกกราฟผม  PRP ก็อาจช่วยในเรื่องการงอกของเส้นผม แต่จะใช้ไม่ได้ผลถ้าบริเวณที่ฉีดไม่มีเส้นผมอยู่เลย จึงควรใช้ PRP รักษาเมื่ออาการผมร่วง ผมบางยังเป็นไม่มาก

⚠️ ข้อควรระวัง

ลินิกบางแห่งโฆษณาว่า PRP ผม เป็นการปลูกผมด้วยสเต็มเซลล์ ซึ่งไม่เป็นความจริง 

ข้อดี

ข้อเสีย

3. ฉายแสงปลูกผม หรือ LLLT (LOW LEVEL LASER THERAPY) 

การฉายแสงปลูกผม (LOW LEVEL LASER THERAPY OR LLLT) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "PHOTOBIOMODULATION  OR PBM" บางคนเรียก "เลเซอร์ปลูกผม" ก็มี 

การปลูกผมโดยการฉายแสงเป็นการกระตุ้นเซลล์รากผม (HAIR FOLLICLE) ที่อ่อนแอให้ฟื้นขึ้นมาใหม่ เครื่องฉายแสงมีหลายชนิด บางชนิดคนไข้สามารถซื้อไปทำเองที่บ้านได้ เช่น หมวกเลเซอร์ ปลูกผม (LASER CAP) บางชนิดมีใช้ในคลินิกแพทย์เท่านั้น การใช้เลเซอร์ฟื้นฟูเซลล์รากผม จัดเป็นการปลูกผมไม่ต้องผ่าตัดแบบหนึ่ง

แพทย์ไม่นิยมใช้ LLLT อย่างเดียวในการรักษาผมร่วง มักใช้ร่วมกับการรักษาผมร่วงแบบอื่นๆ 

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพในการรักษาขึ้นกับปัจจัยอะไรบ้าง เช่น ความยาวคลื่นแสงเลเซอร์ ว่าควรเป็นเท่าใด ความถี่ในการรักษา เวลาที่ใช้ในการฉายแสงในแต่ละครั้งว่าควรนานเท่าไหร่ กี่นาที ?

หลักการการทำงานของ LLLT นักวิจัยเองก็ยังไม่ทราบว่า เลเซอร์ไปกระตุ้นให้เส้นผมงอกได้อย่างไร แต่เชื่อว่า

ข้อดี

ข้อเสีย

ปลูกผม FUE ไม่ต้องผ่าตัด จริงไหม ?

FOLLICULAR UNIT EXCISION (FUE)

การปลูกผม FUE

ปัจจุบันมีการนำคำว่า "ปลูกผมไม่ต้องผ่าตัด" ไปใช้กับการปลูกผมแบบ FUE เพื่อให้ดูไม่น่ากลัว จึงมีการประดิษฐ์คำขึ้นมาเพื่อสื่อให้เข้าใจผิด

คำโฆษณาที่นิยมใช้กัน

ชื่อเต็มของ FUE คือ FOLLICULAR UNIT EXCISION 

คำนิยามทางการแพทย์

"FUE IS A SURGICAL METHOD FOR OBTAINING HAIR FOR TRANSPLANTATION"

คำแปล "FUE เป็นวิธีการผ่าตัดชนิดหนึ่งในการเอาเส้นผมเพื่อนำไปปลูก"

FUE จึงเป็นการปลูกผมแบบผ่าตัดเช่นเดียวกัน เพราะต้องฉีดยาชา และใช้เครื่องมือเจาะเข้าไปที่หนังศีรษะเพื่อเอาเซลล์รากผมมาปลูก 

FUE ไร้แผลเป็น จริงไหม ?

แผลเป็นจากการปลูกผมแบบ FUE

แท้ที่จริงแล้ว การปลูกผมแบบ FUE ก็มีแผลเป็นเช่นเดียวกันกับการปลูกผมแบบอื่นๆ ไม่มีการผ่าตัดอะไรที่ไม่เกิดแผลเป็นตามมา

เพียงแต่ว่า 

สรุป

ขอให้คุณพึงระวังในการหาข้อมูล เพราะมีการโฆษณาที่ไม่ถูกต้อง (FALSE ADVERTISING) ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือเข้าใจไขว้เขว เช่น การอ้างว่าการปลูกผมแบบ FUE เป็นการปลูกผมที่ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลเป็น ฯลฯ ทำนองนี้

น่าเสียดายที่แพทยสภามีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอที่จะตรวจสอบข้อความที่โฆษณาเหล่านั้น ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๔๙ บัญญัติไว้ว่า

“ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วยให้หลงเข้าใจผิดเพื่อประโยชน์ของตน”

ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภทรัพย์และเกียรติยศ จะตกมาแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ให้บริสุทธิ์

คำสอนของ สมเด็จพระบรมราชชนก

เรื่องน่ารู้